วันจันทร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน เรื่องแนวคิดและแนวโน้มเกี่ยวกับข้อมูลสารสนเทศยุคใหม่

   ๑.ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสารสนเทศ

       ด้วยปัจจุบันนี้เป็นยุคข้อมูลข่าวสาร และความรู้หรือบางคนอาจกล่าวว่าเป็นยุคของสารสนเทศนั่นเอง  ที่มีการค้นคว้าวิจัย และทดลองในสาขาวิชาต่างๆมากมาย ทำให้เกิดความต้องการใช้ข้อมูลข่าวสาร สารสนเทศมากขึ้น  ประกอบกับความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่เอื้ออำนวยให้เพิ่มปริมาณสารสนเทศได้อย่างรวดเร็ว
      ขณะเดียวกันหลายๆ คนอาจจะมีการเรียกอีกอย่างหนึ่งว่ายุคแห่งการสื่อสารไร้พรมแดนที่มีการแข่งขันทางด้านข้อมูลข่าวสารอย่างแท้จริง ผู้ที่สามารถรับทราบข้อมูลข่าวสารจากทุกสารทิศได้มากที่สุดและรู้จักนำข้อมูลทุ้งหลายเหล่านั้นมาประมวลผลเพื่อประกอบการตัดสินใจ ในการดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ว่าทางสังคมเศรษฐกิจ การศึกษาธุรกิจต่างๆ ดังที่มีผู้กล่าวในเวปนองไทยนิวส์ว่า " ในโลกยุคดิจิตอลหรือข่าวสังคม ข้อมูลข่าวสารแทรกไปอยู่ในชีวิตประจำวันของคน เราต้องรู้จักใช้ข่าวสารให้เกิดประโยชน์แก่การดำเนินชีวิตของตัวเอง
    ๒.ความหมายของสารสนเทศ
      สารสนเทศ หรือ สารนิเทศ ( imformation )  เป็นคำเดียวกันซึ่งสามารถให้ความหมายกว้างๆ ว่าหมายถึงข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ เรื่องราว ข้อเท็จจริงที่ปรากฎที่เกิดขึ้น
    ๓.ความสำคัญของสารสนเทศ
      สารสนเทศเป็นปัจจัยที่สำคัญในโลกปัจจุบันนี้ ทั้งนี้เพราะการกำหนดแนวทางพัฒนา นโยบายทางด้านการพัฒนา การศึกษา สังคม และวัฒนธรรมมีความสำคัญต่อการพัฒนามนุษ์ และสังคมเพื่อสร้างความรู้อันที่จะนำไปใช้ประโยชย์
    ๔.ประเภทของสารสนเทศ
    การจำแนกประเภทของสารสนเทศได้มีการจำแนกเป็น ตามแหล่งสารสนเทศและตามสื่อที่จัดเก็บดังนี้คือ
              ๑.สารสนเทศจำแนกตำแหน่งตามแหล่งสารสนเทศ เป็นการจำแนกสารสนเทศตามการรวบรวมหรือจัดกระทำสารสนเทศ  จำแนกได้ดังนี้
              -แหล่งปฐมภูมิ ( Primary source) สารสนเทศที่ได้มาจากต้นแหล่งโดยตรง
              -แหล่งทุติยภูมิ (secondary source) สารสนเทศที่มีการรวบรวน เรียบเรียงขึ้นใหม่
              -แหล่งตติยภูมิ (tertiary  sourcr ) สารสนเทศที่จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการค้นหาสารสนเทศจากแหล่งปฐมภูมิ และทุติยภูมิ จะไม่ได้เนื้อหาสาระโดยตรง แต่จะมีประโยชน์ในการค้นหาสารสนเทศที่ให้ความรู้เฉพาะสาขาวิชา ได้แก่ บรรณานุกรม นามานุกรม      
             ๒.สารสนเทศจำแนกตามสื่อที่จัดเก็บที่เป็นการจำแนกสารสนเทศตามชนิดของสื่อที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ได้แก่กระดาษ วัสดุย่อส่วน สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และสื่อแสง
              -กระดาษ เป็นสื่อที่ใช้บันทึกข้อมูล สารสนเทศ ที่ใช้ง่ายต่อการบันทึก
              -วัสดุย่อส่วน เป็นสื่อที่ถูกสำเนาย่อส่วนลงมาบนแผ่นฟิล์มชนิดต่างๆ ทั้งเป็นม้วนและเป็นแผ่นมีการจัดเรียงลำดับตามเนื้อหา
              -สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือสื่อแม่เหล็ก เป็นวัสดุสังเคราะห์เคลือบด้วยสารแม่เหล็ก สามารถบันทึกแก้ไขข้อมูลได้สะดวก
              -สื่อแสงหรือสื่อออปติก (Optical media) เป็นสื่อที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลและอ่านข้อมูลด้วยแสงเลเซอร์ เช่น ซีดี-รอม ดีวีดี เป็นต้น

    ๕.คุณสมบัติของสารสนเทศ

                ดังที่กล่าวมาแล้นนั้นว่าสารสนเทศมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการดำเนินชีวิต การบริหารการจัดการ และใช้ในการวินิจฉัยสั่งการ รวมทั้งใช้ในการตัดสินใจในการทำงานและดำเนินชีวิต ฮะนั้นเพื่อประโยชน์ในการใช้งานสารสนเทศ จึงต้องทำความเข้าใจคุณสมบัติ ดังนี้
        ๑.สามารถเข้าถึงได้ง่าย (Accessibbility) หมายถึงความสะดวกรวดเร็วในการเข้าถึงสารสนเทศ
        ๒.มีความถูกต้อง   (Accurate) สารสนเทศที่ดีต้องมีความเที่ยงตรง
        ๓.มีความครบถ้วน (Completeness) สารสนเทศที่ดีต้องมีความสมบูรณ์ที่จะช่วยในการตัดสินใจ
        ๔. มีความเหมาะสม (Appropriateness) พิจารณาถึงการได้รับสารสนเทศตรงกับความต้องการของผู้ใช้มากน้อยเพียงใด
        ๕. ความทันต่อเวลา (Timeliness) สารสนเทศต้องได้มาให้ทันต่อเวลาในการใช้งาน
        ๖. ความชัดเจน  (Clarity) คือสารสนเทศที่ไม่ต้องมีการตีความ ไม่กำกวม ชัดเจน
        ๗.ความยืดหยุ่น  (Flexibility) เป็นการนำสารสนเทศไปปรับใช้ได้ในทุกสถานการณ์
        ๘. ความสามารถในการพิสูจน์ได้ (Verrifiability) ขึ้นอยู่กับแหล่งที่มาของสารสนเทศว่าใครเป็นผู้รับผิดชอบในการผลิต หมายความว่าสารสนเทศนั้นต้องมาพิสูจน์หรือตรวจสอบได้
        ๙. ความซ้ำซ้อน  (Redundancy) สารสนเทศที่ได้รับนั้น มีความซ้ำซ้อน หรือมากเกินความจำเป็น ดังนั้น สารสนเทศที่ดีต้องไม่มีความซ้ำซ้อน
       ๑๐.ความไม่ลำเอียง (Bias)  ลักษณะสารสนเทศที่ผลิตขึ้นไม่มีเจตนาในการเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขสารสนเทศตามที่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้า      

       ๖. แหล่งสารสนเทศและทรัพยากรสารสนเทศ
            แหล่งสารสนเทศ หมายถึงแหล่งที่เกิด แหล่งที่ ผลิต หรือแหล่งจักเก็บและให้บริการทรัพยากรทางสารสนเทศ ในรูปแบบที่หลากหลายอย่างเป็นระบบและยังเป็นแหล่งที่ทำการอนุรักษณ์ทรัพย์สินทางปัญญาโดยมีบทบาทหน้าที่เพื่อการบริการสารสนเทศและส่งเสริมการค้นคว้าแก่ผู้ต้องการสารสนเทศในระดับต่างๆ โดยแบ่งได้ดังนี้
          - แหล่งสารสนเทศที่เป็นสถาบัน หมายถึงสถานที่ตั้งขึ้นมาเพื่อจัดหาสารสนเทศชนิดต่างๆ มาเก็บไว้ในระบบ
          - แหล่งสารสนเทศที่เป็นสถานที่ คือ แหล่งสารสนเทศที่เป็นสถานที่จริง

          - แหล่งสารสนเทศที่เป็นบุคคล ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ  ผู้รอบรู้ในสาขาวิชานั้น ๆ

          - แหล่งสารสนเทศที่เป็นเหตุการณ์ ได้แก่ กิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้น

          - แหล่งสารสนเทศสื่อมวลชน ซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลที่มุ่งเผยแพร่ทางสารสนเทศ

          - แหล่งสารสนเทศที่เป็นอินเทอร์เน็ต เป็นแหล่งสารสนเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทั้งนี้เนื่องจากทั้งหน่วยงานของรัฐ เอกชน รวมทั้งหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาค้นคว้า การค้าขาย

        ๗.ทรัยยากรสารสนเทศ (Information Resources or Information Materials )

            ทรัพยากรสารสนเทศหมายถึง วัสดุที่ใช้บันทึกข้อมูลข่าวสาร สารสนเทศ ความรู้ และความคิดต่าง ๆ หรืออาจเรียกว่า วัสดดุสารสนเทศ แบ่งออกเป็น ๓ ลักษณะ คือ ทรัพยากรตีพิมพ์ ทรัพยากรไม่ตีพิมพ์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์
                ๑. ประเภทและชนิดของทรัพยากรสารสนเทศ
                     -ทรัพยากรตีพิมพ์ หมายถึงวัสดุที่บันทึกสารสนเทศในรูปแบบของตัวอักษร  ภาพและสัญลักษณ์อื่น ๆ  โดยผ่านกระบวนการตีพิมพ์  เช่น หนังสือ  วารสาร  หนังสือพิมพ์  กฤตภาค เป็นต้น     วัสดุตีพิมพ์จัดแยกประเภทตามลักษณะรูปเล่มและวัตถุประสงค์ในการจัดทำได้ดังนี้
                           - หนังสือ     หนังสือเป็นสิ่งพิมพ์ที่รวบรวมสารสนเทศทั้งทางด้านวิชาการ  สารคดีและบันเทิงคดี  ให้เนื้อหาที่จบบริบูรณ์ในเล่มเดียวหรือหลายเล่มที่เรียกว่า หนังสือชุด  ประเภทของหนังสือจัดแยกตามลักษณะเนื้อหา
                           - วารสาร    วารสารเป็นสิ่งพิมพ์ที่ออกตามกำหนดระยะเวลาอย่างสม่ำเสมอ   เช่น  รายสัปดาห์  รายปักษ์ (สองสัปดาห์)  หรือรายเดือน    ให้สารสนเทศในรูปแบบ “บทความ”  จากผู้แต่งหลายคน   เนื้อหาสาระอาจเป็นเรื่องในสาขาวิชาเดียวกัน หรือรวมเรื่อง
                ๒.ทรัพยากรไม่ตีพิมพ์ 
                   คือทรัพยากรสารสนเทศที่มีลักษณะสำคัญิที่แตกต่างจากทรัพยากรตีพิมพ์ ที่ให้สารสนเทศ ควารู้โดยผ่านประสาทสัมผัสทางหู ตา ด้วยการดูและการฟัง ทำให้สื่อความหมาย เข้าใจง่าย










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น