วันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

การจัดการสารสนเทศ

           การจัดการสารสนเทศ
การจัดการสารสนเทศ หมายถึง การทำกิจกรรมหลัก ต่างๆ ในการจัดหา การจัดโครงสร้าง  ( Organization ) การควบคุม ผลิต การเผยแพร่และการใช้สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินขององค์การทุกประเภทอย่างมีประสิทธิผล ซึ่งสารสนเทศในที่นี้หมายถึงสารสนเทศทุกประเภทที่มีคุณค่าไม่ว่าจะมีแหล่งกำเนิดจากภายในหรือภายนอกองค์การ
           การจัดการสารสนเทศ หมายถึง กระบวนดำเนินงาน เช่น ทำดรรชนี การจัดหมวดหมู่ การจัดแฟ้มการทำรายการเพื่อการเข้าถึงเอกสารหรือสารสนเทศที่มีการบันทึกไว้ในรูปแบบต่างๆ
การจัดการสารสนเทศ หมายถึง การดำเนินการกับสารสนเทศในระดับองค์การ ได้แก่ การวางแผนการ จัดสรรงบประมาณ การจัดโครงสร้างองค์การ การจัดเจ้าหน้าที่ และการควบคุมสารสนเทศ
           กล่าวสรุปโดย การจัดการสารสนเทศ ความหมายถึง การผลิต จัดเก็บ ประมวลผล ค้นหา และเผยแพร่ สารสนเทศโดยจัดให้มีระบบสารสนเทศ การกระจายของสารสนเทศ ทั้งภายในและภายนอกองค์การโดยมีการนำเทคโนโลยีต่างๆ โดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารมาใช้ในการจัดการ รวมทั้งมีนโยบาย หรือกลยุทธ์ระดับองค์การในการจัดการสารสนเทศ
          ความสำคัญของการจัดการสารสนเทศ
การจัดการสารสนเทศในสภาวะที่สังคมมีสารสนเทศเกิดขึ้นมากมาย ในลักษณะสารสนเทศท่วมท้นการจัดการสารสนเทศ โดยจัดเป็นระบบสารสนเทศต่างๆ เพื่อการใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสมกับความต้องการ
          ความสำคัญของการจัดการสารสนเทศ
การจัดการสารสนเทศมีความสำคัญต่อบุคคลในด้านการดำรงชีวิตประจำวัน การศึกษา และการทำงานประกอบอาชีพ ต่างๆ การจัดการสารสนเทศอย่างเป็นระบบ โดยการทำฐานข้อมูลส่วนบุคคลรวบรวมทั้งข้อมูลการดำรงชีพ การศึกษา และการทำงานประกอบอาชีพต่างๆ ในการดำรงชีวิตประจำวัน
             ความสำคัญของการจัดการสารสนเทศต่อองค์การ
จัดการสารสนเทศมีความสำคัญต่อองค์การในด้านการบริหารจัดการ การดำเนินงาน และกฎหมาย ดังนี้
ความสำคัญด้านการบริหารจัดการ ความสำคัญด้านการดำเนินงาน ความสำคัญด้านกฎหมาย
           พัฒนาการของการจัดการสารสนเทศ
นักวิชาการของการจัดการสารสนเทศศาสตร์บางคนได้กล่าวว่า การถกเถียงอภิปรายถึงความหมายคำว่าสารสนเทศ จะไม่เกิดคุณค่าใดๆ หากไม่พิจารณาความหมายลึกลงไปในแง่การปฏิบัติ งานกับสารสนเทศหรือคือ การจัดการสารสนเทศ
             การจัดการสารสนเทศด้วยระบบมือ
การจัดการสารสนเทศในยุคแรก สื่ออยู่ในรูปของสื่อสิ่งพิมพ์ การจัดการสารสนเทศเน้นระบบมือโดยรวมรายชื่อหนังสือที่มีการผลิตและเผยแพร่ และเทคนิคในการจัดเก็บเอกสารระยะแรก เป็นการจัดเรียงตามขนาดของรูปเล่มหนังสือ ตามสีของปก ตามลำดับอักษรชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่องหนังสือ เลขทะเบียน ตามลำดับก่อนหลังของหนังสือที่ห้องสมุด หน่วยงานที่ได้รับ และรวมถึงการกำหนดสัญลักษณ์ขึ้นเป็นตัวเลขและหรือตัวอักษรเพื่อแทนเนื้อหาสาระของสิ่งพิมพ์

       การจัดการสารสนเทศโดยใช้คอมพิวเตอร์

     การจัดการสารสนเทศเกิดขึ้นโดยใช้คอมพิวเตอร์ เมื่อสารสนเทศมีปริมาณมากมาย รูปลักษณ์หลากหลายคอมพิวเตอร์พัฒนาการของจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว ตั้งแต่ ค.ศ. 1946 มีการประดิษฐ์คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่ใช้เทคโนโลยีหลอดสุญญากาศ ใช้ในงานค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ การสำรวจสำนะโนประชากร ซึ่งต่อมาเครื่องคอมพิวเตอร์ พัฒนามาใช้เทคโนโลยีทรานซิสเตอร์มีขนาดเล็กลง และนำมาใช้งานทางด้านคณิตศาสตร์และวิศวกรรม
   การรวบรวมข้อมูล
การเก็บรวบรวมข้อมูลซึ่งมีจำนวนมาก จะต้องมีการดำเนินการที่รอบคอบและเป็นระบบ ข้อมูลบางอย่างต้องเก็บให้ทันเวลา เช่น การลงทะเบียนเรียนของนักเรียน ประวัตินักเรียน ผลการเรียนของนักเรียน
   การตรวจสอบข้อมูล
เมื่อมีการเก็บรวบรวมข้อมูลแล้วจำเป็นต้องมีการตรวจสอบข้อมูล เพื่อตรวจสอบความถูกต้องข้อมูลที่เก็บเข้าในระบบจะต้องมีความน่าเชื่อถือได้
       การประมวลผลข้อมูลให้กลายเป็นสารสนเทศ
  การจัดข้อมูลเป็นหมวดหมู่ตามลักษณะของข้อมูล ข้อมูลที่จัดเก็บจะต้องมีการแบ่งแยกกลุ่ม เพื่อเตรียมไว้สำหรับการใช้งาน เช่น ข้อมูลนักเรียนในโรงเรียนมีการแบ่งแฟ้มทะเบียนประวัตินักเรียน แฟ้มรายวิชาที่ลงทะเบียนเรียน แฟ้มความประพฤตินักเรียน แฟ้มการมาเรียน ข้อมูลในห้องสมุด
        แนวคิดเกี่ยวกับการจัดสารสนเทศ
การจัดการสารสนเทศ ในอดีตมักมุ่งที่การจัดเก็บสารสนเทศเพื่อการเรียกใช้อย่างง่าย เป็นการจัดเก็บเรียงตามประเภทสื่อที่บันทึก หรือตามขนาดใหญ่เล็กของเอกสารรูปเล่มหรือหนังสือเป็นต้น และต่อมา เมื่อสารสนเทศมีปริมาณมากขึ้น มีหลายรูปแบบ การใช้ประโยชน์ในหลายวงการ ทั้งวงการธุรกิจ ภาครัฐ วิชาการและวิชาชีพต่าง ๆ
      การจัดการสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
ความต้องการที่จะปรับปรุงการจัดการสารสนเทศเป็นที่สนใจในหลาย ๆ องค์กร โดยอาจถูกผลักดันจาก หลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นความต้องการที่จะปรับปรุงประสิทธิภาพของกระบวนการทางธุรกิจ การปรับปรุงเพื่อให้ถูกต้องตามกฎระเบียบที่วางไว้ รวมถึงต้องการใช้บริการใหม่ ๆ ในหลายกรณี

วันพฤหัสบดีที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การรู้สารสนเทศ

 

  ๑.ความหมาย

           ในสังคมปัจจุบันซึ่งเป็นแหล่งสารสนเทศ บุคคลในสังคมจึงจำเป็นต้องรับรู้ข้อมูลข่าวสารอย่างท่วมท้น บุคคลจำเป็นต้องมีการพัฒนาตนเอง เพื่อรับรู้ข้อมูลข่าวสารได้อย่างเหมาะสมและถูกต้อง คนในสังคมปัจจุบันจึงต้องมีการเรียนรู้ตลอดเวลา เพื่อเท่าทันในข้อมูลข่าวสารที่หลากหลาย
           ดังนั้นการรู้สารสนเทศของบุคคล จะช่วยส่งเริมให้บุคคลสามารถเข้าถึงสารสนเทศจากทั่วทุกมุมโลก และนำสารสนเทศออกเป็นความรู้ เพื่อนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นับเป็นกาส่งเสริมเสรีภาพในการเรียนรู้ของทุกคนอย่างแท้จริง
   
   ๒. ความเป็นมา

          การรู้สารสนเทศ ( Information Literacy ) เป็นคำทีพบในบริบทต่าง ๆ ทั้งในและนอกประเทศสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และอังกฤษ ซึ่งในประเทศอังกฤษถือได้ว่า ทักษะสารสนเทศ การรู้สารสนเทศ หรือ ทักษะสารสนเทศเกิดขึ้นในราวต้นคริสต์ศักราช ๑๙๗๔ และได้ใช้คำทั้งสองร่วมกันและบางครั้งได้ใช้ในความหมายเดียวกัน โดยการรู้สารสนเทศครอบคลุม ความสามารถในการเข้าถึง การกำหนด การประเมินและการใช้สารสนเทศจากแหล่งต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิผล
          การรู้สารสนเทศจึงเป็นเป้าหมายการเรียนรู้สำคัญของบุคคล การรู้สารสนเทศต้องอาศัยความสามารถในการเข้าถึง ประเมิน และการใช้สารสนเทศ การรู้สารสนเทศจึงเป็นองค์ประกอบสำคัญในการ
สร้างคุณลักษณะให้บุคคลเป็นบุคคลมีความรู้ มีความคิดวิเคราะห์ มีคามสามารถด้านสารสนเทศ และช่วยให้บุคคลเป็นผู้เรียนตลอดชีวิต

๓. องค์ประกอบของการเรียนรู้สารสนเทศ

           องค์ประกอบของการเรียนรู้สารสนเทศประกอบด้วย ความเข้าใจ และความสามารถส่วนบุคคลที่ตระหนักถึงความจำเป็นของสารสนเทศโดยต้องมีความสามารถดังต่อไปนี้
      ๑. ความสามารถในการเข้าถึงสารสนเทศ ประกอบด้วยความสามารถทางกายภาพ และสติปัญญาในการเข้าถึงสารสนเทศ ในสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยเทคโนโลยี
      ๒.ความสามารถในการประเมินสารสนเทศ ประกอบด้วยความสามารถในการสังเคราะห์ หรือตีความสามารถตัดสินได้ว่าแหล่งใดมีความน่าเชื่อถือ
      ๓.ความสารถในการใช้สารสนเทศ ประกอบด้วยความเข้าใจประเด็นทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม รวมถึงมารยาทการใช้สารสนเทศ

๔. คุณลักษณะและความสามารถในการรู้สารสนเทศ
   
       Sony council of Library Directors Information Literacy Initiative 2003 ได้เสนอคุณลักษณะและความสามารถในการรู้สารสนเทศของบุคคลดังนี้
     ๑. ตระหนักถึงความจำเป็นของสารสนเท
     ๒. สามารถกำหนดขอบเขตของสารสนเทศที่จำเป็น
     ๓. เข้าถึงสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
     ๔. นำสารสนเทศที่คัดสรรแล้วสู่พื้นความรู้เดิม
     ๕. มีประสิทธิภาพในการใช้สารสนเทศได้ตรงตามวัตถุประสงค์
     ๖. เข้าใจประเด็นทางเศรษฐกิจทางสังคมวัฒนธรรมและกฎหมายในการใช้สารสนเทศ
     ๗. ประเมินสารสนเทศและแหล่งสารสนเทศได้
     ๘. เข้าถึงสารสนเทศได้อย่างมีจริยธรรมและถูกกฎหมาย
     ๙. แบ่งประเภทจัดเก็บและสร้างความเหมาะสมให้กับสารสนเทศที่รวบรวมไว้
     ๑๐. ตระหนักว่าการรูสารสนเทศช่วยให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต

๕. มาตรฐานของผู้รู้สารสนเทศ

            Amerrican Association of school librarians & Association for Education Communication and Technology 2004 ได้เสนอมาตรฐาน ของผู้รู้ไว้ ๓ ระดับด้วยกัน กล่าวคือ มาตรฐานทั่วไป ประกอบด้วยมาตรฐานที่ ๑-๓ การเรียนรู้อย่างอิสระประกอบด้วยมาตรฐานที่ ๔-๖ และความรับผิดชอบต่อังคมประกอบด้วยมาตรฐานที่ ๗-๘

๖. แนวทางการส่งเสริมการรู้สารสนเทศ

         แนวทางการส่งเสริมการรู้สารสนเทศมีหลายแนวทาง หากแนวทางที่มีรูปธรรมชัดเจนจากประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย มีการนำไปประยุกต์เพื่อการเรียนการสอนทักษะสารสนเทศในสถาบันต่าง ๆ
        สำหรับในประเทศงานวิจัยการพัฒนารูปแบบการรู้สารสนเทศสำหรับสังคมไทย ได้สังเคราะห์และพัฒนารูปแบบการรู้สารสนเทศสำหรับสังคมไทยขึ้นโดยมีพื้นฐานจาก  The 6 Skill  Model

๗. ประโยชน์ของการรู้สารสนเทศ

         จากผลการวิจัยการพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างการรู้สารสนเทศสำหรับสังคมไทยจำเป็นต้องใช้สารสนเทศ และสามารถค้นหาประเมินใช้ และ สื่อสารสารสนเทศที่ต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อการแก้ปัญหาหรือเพื่อการตัดสินใจผู้เรียนที่มีลักษณะเป็นผู้รู้สารสนเทศ ความสำคัญของการรู้สารสนเทศ เนื่องจากสารสนเทศที่เข้ามาสู่บุคคลในรูปแบบต่าง ๆ นั้นเป็นสารสนเทศทั้งที่ผ่านการกลั่นกรองเป็นอย่างดี และ ไม่ได้มีการกลั่นกรอง จึงทำให้ผู้เรียนรู้ต้องพิจารณาเลือกสารสนเทศ การรู้สารสนเทศกับการเปลี่ยนแปลงการเรียนการสอน ในยุคสารสนเทศซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี และ มีสารสนเทศใหม่ ๆ เกิดขึ้นรวดเร็วมาก

วันจันทร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน เรื่องแนวคิดและแนวโน้มเกี่ยวกับข้อมูลสารสนเทศยุคใหม่

   ๑.ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสารสนเทศ

       ด้วยปัจจุบันนี้เป็นยุคข้อมูลข่าวสาร และความรู้หรือบางคนอาจกล่าวว่าเป็นยุคของสารสนเทศนั่นเอง  ที่มีการค้นคว้าวิจัย และทดลองในสาขาวิชาต่างๆมากมาย ทำให้เกิดความต้องการใช้ข้อมูลข่าวสาร สารสนเทศมากขึ้น  ประกอบกับความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่เอื้ออำนวยให้เพิ่มปริมาณสารสนเทศได้อย่างรวดเร็ว
      ขณะเดียวกันหลายๆ คนอาจจะมีการเรียกอีกอย่างหนึ่งว่ายุคแห่งการสื่อสารไร้พรมแดนที่มีการแข่งขันทางด้านข้อมูลข่าวสารอย่างแท้จริง ผู้ที่สามารถรับทราบข้อมูลข่าวสารจากทุกสารทิศได้มากที่สุดและรู้จักนำข้อมูลทุ้งหลายเหล่านั้นมาประมวลผลเพื่อประกอบการตัดสินใจ ในการดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ว่าทางสังคมเศรษฐกิจ การศึกษาธุรกิจต่างๆ ดังที่มีผู้กล่าวในเวปนองไทยนิวส์ว่า " ในโลกยุคดิจิตอลหรือข่าวสังคม ข้อมูลข่าวสารแทรกไปอยู่ในชีวิตประจำวันของคน เราต้องรู้จักใช้ข่าวสารให้เกิดประโยชน์แก่การดำเนินชีวิตของตัวเอง
    ๒.ความหมายของสารสนเทศ
      สารสนเทศ หรือ สารนิเทศ ( imformation )  เป็นคำเดียวกันซึ่งสามารถให้ความหมายกว้างๆ ว่าหมายถึงข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ เรื่องราว ข้อเท็จจริงที่ปรากฎที่เกิดขึ้น
    ๓.ความสำคัญของสารสนเทศ
      สารสนเทศเป็นปัจจัยที่สำคัญในโลกปัจจุบันนี้ ทั้งนี้เพราะการกำหนดแนวทางพัฒนา นโยบายทางด้านการพัฒนา การศึกษา สังคม และวัฒนธรรมมีความสำคัญต่อการพัฒนามนุษ์ และสังคมเพื่อสร้างความรู้อันที่จะนำไปใช้ประโยชย์
    ๔.ประเภทของสารสนเทศ
    การจำแนกประเภทของสารสนเทศได้มีการจำแนกเป็น ตามแหล่งสารสนเทศและตามสื่อที่จัดเก็บดังนี้คือ
              ๑.สารสนเทศจำแนกตำแหน่งตามแหล่งสารสนเทศ เป็นการจำแนกสารสนเทศตามการรวบรวมหรือจัดกระทำสารสนเทศ  จำแนกได้ดังนี้
              -แหล่งปฐมภูมิ ( Primary source) สารสนเทศที่ได้มาจากต้นแหล่งโดยตรง
              -แหล่งทุติยภูมิ (secondary source) สารสนเทศที่มีการรวบรวน เรียบเรียงขึ้นใหม่
              -แหล่งตติยภูมิ (tertiary  sourcr ) สารสนเทศที่จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการค้นหาสารสนเทศจากแหล่งปฐมภูมิ และทุติยภูมิ จะไม่ได้เนื้อหาสาระโดยตรง แต่จะมีประโยชน์ในการค้นหาสารสนเทศที่ให้ความรู้เฉพาะสาขาวิชา ได้แก่ บรรณานุกรม นามานุกรม      
             ๒.สารสนเทศจำแนกตามสื่อที่จัดเก็บที่เป็นการจำแนกสารสนเทศตามชนิดของสื่อที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ได้แก่กระดาษ วัสดุย่อส่วน สื่ออิเล็กทรอนิกส์ และสื่อแสง
              -กระดาษ เป็นสื่อที่ใช้บันทึกข้อมูล สารสนเทศ ที่ใช้ง่ายต่อการบันทึก
              -วัสดุย่อส่วน เป็นสื่อที่ถูกสำเนาย่อส่วนลงมาบนแผ่นฟิล์มชนิดต่างๆ ทั้งเป็นม้วนและเป็นแผ่นมีการจัดเรียงลำดับตามเนื้อหา
              -สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือสื่อแม่เหล็ก เป็นวัสดุสังเคราะห์เคลือบด้วยสารแม่เหล็ก สามารถบันทึกแก้ไขข้อมูลได้สะดวก
              -สื่อแสงหรือสื่อออปติก (Optical media) เป็นสื่อที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลและอ่านข้อมูลด้วยแสงเลเซอร์ เช่น ซีดี-รอม ดีวีดี เป็นต้น

    ๕.คุณสมบัติของสารสนเทศ

                ดังที่กล่าวมาแล้นนั้นว่าสารสนเทศมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการดำเนินชีวิต การบริหารการจัดการ และใช้ในการวินิจฉัยสั่งการ รวมทั้งใช้ในการตัดสินใจในการทำงานและดำเนินชีวิต ฮะนั้นเพื่อประโยชน์ในการใช้งานสารสนเทศ จึงต้องทำความเข้าใจคุณสมบัติ ดังนี้
        ๑.สามารถเข้าถึงได้ง่าย (Accessibbility) หมายถึงความสะดวกรวดเร็วในการเข้าถึงสารสนเทศ
        ๒.มีความถูกต้อง   (Accurate) สารสนเทศที่ดีต้องมีความเที่ยงตรง
        ๓.มีความครบถ้วน (Completeness) สารสนเทศที่ดีต้องมีความสมบูรณ์ที่จะช่วยในการตัดสินใจ
        ๔. มีความเหมาะสม (Appropriateness) พิจารณาถึงการได้รับสารสนเทศตรงกับความต้องการของผู้ใช้มากน้อยเพียงใด
        ๕. ความทันต่อเวลา (Timeliness) สารสนเทศต้องได้มาให้ทันต่อเวลาในการใช้งาน
        ๖. ความชัดเจน  (Clarity) คือสารสนเทศที่ไม่ต้องมีการตีความ ไม่กำกวม ชัดเจน
        ๗.ความยืดหยุ่น  (Flexibility) เป็นการนำสารสนเทศไปปรับใช้ได้ในทุกสถานการณ์
        ๘. ความสามารถในการพิสูจน์ได้ (Verrifiability) ขึ้นอยู่กับแหล่งที่มาของสารสนเทศว่าใครเป็นผู้รับผิดชอบในการผลิต หมายความว่าสารสนเทศนั้นต้องมาพิสูจน์หรือตรวจสอบได้
        ๙. ความซ้ำซ้อน  (Redundancy) สารสนเทศที่ได้รับนั้น มีความซ้ำซ้อน หรือมากเกินความจำเป็น ดังนั้น สารสนเทศที่ดีต้องไม่มีความซ้ำซ้อน
       ๑๐.ความไม่ลำเอียง (Bias)  ลักษณะสารสนเทศที่ผลิตขึ้นไม่มีเจตนาในการเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขสารสนเทศตามที่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้า      

       ๖. แหล่งสารสนเทศและทรัพยากรสารสนเทศ
            แหล่งสารสนเทศ หมายถึงแหล่งที่เกิด แหล่งที่ ผลิต หรือแหล่งจักเก็บและให้บริการทรัพยากรทางสารสนเทศ ในรูปแบบที่หลากหลายอย่างเป็นระบบและยังเป็นแหล่งที่ทำการอนุรักษณ์ทรัพย์สินทางปัญญาโดยมีบทบาทหน้าที่เพื่อการบริการสารสนเทศและส่งเสริมการค้นคว้าแก่ผู้ต้องการสารสนเทศในระดับต่างๆ โดยแบ่งได้ดังนี้
          - แหล่งสารสนเทศที่เป็นสถาบัน หมายถึงสถานที่ตั้งขึ้นมาเพื่อจัดหาสารสนเทศชนิดต่างๆ มาเก็บไว้ในระบบ
          - แหล่งสารสนเทศที่เป็นสถานที่ คือ แหล่งสารสนเทศที่เป็นสถานที่จริง

          - แหล่งสารสนเทศที่เป็นบุคคล ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ  ผู้รอบรู้ในสาขาวิชานั้น ๆ

          - แหล่งสารสนเทศที่เป็นเหตุการณ์ ได้แก่ กิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้น

          - แหล่งสารสนเทศสื่อมวลชน ซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลที่มุ่งเผยแพร่ทางสารสนเทศ

          - แหล่งสารสนเทศที่เป็นอินเทอร์เน็ต เป็นแหล่งสารสนเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทั้งนี้เนื่องจากทั้งหน่วยงานของรัฐ เอกชน รวมทั้งหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาค้นคว้า การค้าขาย

        ๗.ทรัยยากรสารสนเทศ (Information Resources or Information Materials )

            ทรัพยากรสารสนเทศหมายถึง วัสดุที่ใช้บันทึกข้อมูลข่าวสาร สารสนเทศ ความรู้ และความคิดต่าง ๆ หรืออาจเรียกว่า วัสดดุสารสนเทศ แบ่งออกเป็น ๓ ลักษณะ คือ ทรัพยากรตีพิมพ์ ทรัพยากรไม่ตีพิมพ์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์
                ๑. ประเภทและชนิดของทรัพยากรสารสนเทศ
                     -ทรัพยากรตีพิมพ์ หมายถึงวัสดุที่บันทึกสารสนเทศในรูปแบบของตัวอักษร  ภาพและสัญลักษณ์อื่น ๆ  โดยผ่านกระบวนการตีพิมพ์  เช่น หนังสือ  วารสาร  หนังสือพิมพ์  กฤตภาค เป็นต้น     วัสดุตีพิมพ์จัดแยกประเภทตามลักษณะรูปเล่มและวัตถุประสงค์ในการจัดทำได้ดังนี้
                           - หนังสือ     หนังสือเป็นสิ่งพิมพ์ที่รวบรวมสารสนเทศทั้งทางด้านวิชาการ  สารคดีและบันเทิงคดี  ให้เนื้อหาที่จบบริบูรณ์ในเล่มเดียวหรือหลายเล่มที่เรียกว่า หนังสือชุด  ประเภทของหนังสือจัดแยกตามลักษณะเนื้อหา
                           - วารสาร    วารสารเป็นสิ่งพิมพ์ที่ออกตามกำหนดระยะเวลาอย่างสม่ำเสมอ   เช่น  รายสัปดาห์  รายปักษ์ (สองสัปดาห์)  หรือรายเดือน    ให้สารสนเทศในรูปแบบ “บทความ”  จากผู้แต่งหลายคน   เนื้อหาสาระอาจเป็นเรื่องในสาขาวิชาเดียวกัน หรือรวมเรื่อง
                ๒.ทรัพยากรไม่ตีพิมพ์ 
                   คือทรัพยากรสารสนเทศที่มีลักษณะสำคัญิที่แตกต่างจากทรัพยากรตีพิมพ์ ที่ให้สารสนเทศ ควารู้โดยผ่านประสาทสัมผัสทางหู ตา ด้วยการดูและการฟัง ทำให้สื่อความหมาย เข้าใจง่าย